บริการ Logispost คือ บริการที่ ปณท รับฝากส่งสิ่งของขนาดใหญ่ทางไปรษณีย์ในประเทศ โดยมีหลักฐานการรับฝาก การส่งต่อและการนำจ่าย สามารถติดตามระบบงานได้ทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน นับตั้งแต่ขั้นตอนการรับฝาก การส่งต่อ การเตรียมการนำจ่าย และการนำจ่าย หาก Logispost

ดังกล่าวเกิดการสูญหายหรือเสียหายเพราะความผิดของทางการไปรษณีย์ ปณท จะชดใช้ค่าเสียหายให้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่ ปณท กำหนด

Logispost มีน้ำหนักและขนาดอย่างสูง ดังนี้

1. น้ำหนักอย่างสูง(สิ่งของรวมวัสดุหุ้มห่อ) ไม่เกิน 200 กิโลกรัม(กก.) โดยน้ำหนัก ที่นำมาใช้เป็นฐานการคำนวณค่าบริการมี 2 ชนิดน้ำหนัก คือ
1.1 น้ำหนักจริง (Gross Weight) คือ น้ำหนักสิ่งของที่ได้จากการชั่งด้วยเครื่องชั่งน้ำหนัก มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (กก.)
1.2 น้ำหนักปริมาตร(Volume Weight) คือ น้ำหนักที่เกิดจากการวัดขนาดของสิ่งของ (กว้าง – ยาว – สูง) ตามการคำนวณหาค่าของน้ำหนักปริมาตร ตามสูตรการคำนวณ VOLUMETRIC ตามหลักสากล คือ กว้าง x ยาว x สูง(เซนติเมตร) = กิโลกรัม(กก.) โดยจะเป็นสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ แต่น้ำหนักน้อย
1.3 ขนาดอย่างสูง (กว้าง- ยาว- สูง)
1.4 กว้างไม่เกิน 150 เซนติเมตร
1.5 ยาวไม่เกิน 200 เซนติเมตร
1.6 สูงไม่เกิน 150 เซนติ เมตร

2. สิ่งของที่มีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 200 กิโลกรัม ให้ฝากส่งได้เฉพาะจากที่ทำการต้นทาง ศป.(เฉพาะ ศป.ที่เปิดบริการ) ถึงปลายทาง ศป. เท่านั้น ยกเว้นสิ่งของที่ ปณท กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์รับฝากส่งได้เป็นพิเศษ
3. ต้องฝากส่ง ณ ที่ทำการและส่งไปนำจ่าย ณ ที่ทำการที่เปิดให้บริการนี้เท่านั้น
4. ระยะเวลาการเดินทางของ Logispost ส่งต่อไปรอจ่ายผู้รับ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง
ภายใน 7 วันนับจากวันที่ฝากส่ง
5. สิ่งของที่รับฝากส่งทางบริการ Logispost เช่น
5.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ลำโพง เครื่องเล่นวีซีดี,ดีวีดี
5.2 สิ่งของประเภทของเหลวที่บรรจุในขวดแก้วที่หุ้มห่ออย่างแน่นหนาแข็งแรง คือ มีลังไม้บรรจุและมีวัสดุกันรั่วซึมดูดซับเพียงพอ
5.3 อุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่อง/อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
5.4 เครื่องเรือน/เฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะ เตียง ตู้ โซฟา ชุดรับแขก โต๊ะอาหาร
5.5 สิ่งของอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่ เช่น รถจักรยาน รถจักรยานออกกำลังกาย รถจักรยานยนต์

6. สิ่งของที่ไม่รับฝากส่งทางบริการ Logispost เช่น
6.1 สิ่งของประเภทที่เน่าเสียได้ เช่น ผลไม้ต่างๆ
6.2 สิ่งของประเภทของเหลวที่บรรจุในขวดแก้ว เช่น เหล้า ไวน์ เคมีภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งไม่ได้มีการหุ้มห่อหรือบรรจุหีบห่อที่แน่นหนาแข็งแรงดีพอต่อการขนส่ง

6.3 รถจักรยานยนต์ซึ่งมีปริมาตรกระบอกสูบเกิน 250 CC.

6.4 สิ่งของที่มีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัมและรถจักรยานยนต์ ที่ส่งถึงปลายทางที่เป็นเกาะ เช่น ปณ.รอบเกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะช้าง เป็นต้น

7. การจ่าหน้า
7.1 จ่าหน้าชื่อที่อยู่พร้อมรหัสไปรษณีย์ของผู้ฝากส่งและผู้รับที่ละเอียดสมบูรณ์ชัดเจนมากที่สุด พร้อมระบุ หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อใช้โทรแจ้งให้ผู้รับทราบเมื่อ Logispost ส่งถึงที่ทำการปลายทาง หรือติดต่อผู้ฝากส่งกรณีส่งคืน
7.2 กรณีต้องการให้ผู้รับไปติดต่อขอรับ ณ ที่ทำการปลายทาง ที่ผู้รับสะดวกติดต่อแทนที่ทำการปลายทางตามที่อยู่ของผู้รับ ให้ดำเนินการได้ โดยจ่าหน้าระบุชื่อผู้รับพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ไว้บรรทัดแรก แล้วตามด้วยชื่อที่อยู่ของที่ทำการปลายทางที่ต้องการส่งสิ่งของไปรอจ่ายผู้รับ

8. การหุ้มห่อดำเนินการ ดังนี้
8.1 หุ้มห่ออย่างมั่นคงแข็งแรงเหมาะสมกับสิ่งของที่ฝากส่ง ขนาดน้ำหนักและระยะทาง
8.2 สิ่งของที่โดยสภาพทำการขนส่งได้ โดยไม่ต้องบรรจุหีบห่อ หรือไม่ต้องหุ้มห่อ หรือหุ้มห่อเพียงบางส่วนเพื่อป้องกันการเสียหายที่อาจเกิดจากการกระทบกระแทกหรือ รอยขีดข่วน เช่น เครื่องเรือน/เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ บานประตู หน้าต่าง ถังน้ำ เป็นต้น ให้รับฝากส่งได้โดยไม่ต้องหุ้มห่อ แต่ควรมีวัสดุป้องกันการกระทบกระแทก หรือขีดข่วนบริเวณขอบมุมหรือส่วนที่บอบบาง เช่น ใช้กระดาษลูกฟูก หรือวัสดุกันกระแทก
8.3 สิ่งของที่โดยสภาพแตกหักได้ง่ายในขณะขนส่ง ซึ่งต้องระมัดระวังในการขนส่ง เป็นพิเศษ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเล่นวีดีโอ ตู้เย็น และเครื่อง/อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ต้องหุ้มห่อโดยบรรจุกล่องที่แข็งแรง เช่น กล่องโลหะ กล่องไม้ กล่องพลาสติก หรือกล่องกระดาษแข็ง โดยกรุภายในด้วยวัสดุกันกระแทก ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเสียดสี หรือการกระทบกระแทกระหว่างสิ่งของที่ฝากส่งหรือสิ่งของกับกล่องที่บรรจุในขณะขนส่ง และอาจเขียนข้อความว่า “ระวัง ของแตก” หรือใช้กล่องที่ใช้บรรจุมาจากโรงงานหรือบริษัทผู้ผลิต (ถ้ามี)
กรณี ผู้ฝากส่งยืนยันที่จะฝากส่งโดยไม่หุ้มห่อและไม่เรียกร้องค่าเสียหายหากเกิดชำรุดเสียหายขึ้น จะต้องบันทึกยืนยันไว้ในใบรับฝากบริเวณที่ให้หมายเหตุแต่ทั้งนี้ ปณท อาจจะปฏิเสธการรับฝากส่งก็ได้
8.4 ของเหลวที่บรรจุในขวดแก้ว หรือภาชนะที่แตกหักได้ง่าย เช่น ไวน์ ครีมทาผิว เป็นต้น ต้องหุ้มห่ออย่างแน่นหนาแข็งแรงเพียงพอ โดยบรรจุในภาชนะที่ป้องกันการรั่วซึม ได้เป็นอย่างดีอีกชั้นหนึ่ง
8.5 ผู้ฝากส่งต้องเป็นฝ่ายจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ใช้ในการบรรจุหีบห่อหรือหุ้มห่อเอง

รถจักรยานยนต์ ควรใช้วัสดุกันกระแทกหุ้มห่อบริเวณที่เสียงต่อการชำรุด แตกหักเสียหาย เช่น บริเวณ ตัวถังของรถ และกระจก ไฟเลี้ยว ไฟท้าย เป็นต้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนหรือแตกหักเสียหายระหว่างการขนส่ง

9. สิ่งของที่ถอดแล้วประกอบขึ้นใหม่ได้ เช่น เตียงนอน โต๊ะคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ต้องถอดส่วนประกอบแต่ละส่วนแยกออกจากกันก่อน แล้วนำชิ้นส่วนทั้งหมดมาวัดขนาด หรือชั่งน้ำหนักคิดค่าบริการตามแต่กรณี เพื่อลดพื้นที่ระวางขนส่ง
10. สิ่งของที่ใช้ร่วมกัน เช่น คอมพิวเตอร์พร้อมเครื่องพิมพ์(Printer) , โต๊ะคอมพิวเตอร์พร้อมเก้าอี้ เป็นต้น ต้องแยกฝากส่งระหว่างคอมพิวเตอร์กับเครื่องพิมพ์ หรือโต๊ะคอมพิวเตอร์กับเก้าอี้ หากฝากส่งโดยบรรจุไว้ในหีบห่อหรือหุ้มห่อรวมไว้ด้วยกันได้ ให้ฝากส่งและชำระค่าบริการเป็นชิ้นเดียวได้
11. สิ่งของที่ฝากส่ง ต้องไม่เป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่งทางไปรษณีย์ หรือมีการซุกซ่อนสิ่งของต้องห้ามส่งทางไปรษณีย์ หากตรวจพบว่าเป็นหรือซุกซ่อนสิ่งของต้องห้ามส่งทางไปรษณีย์ จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการของ ปณท
12. ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการพิเศษควบคู่กับ Logispost ได้เฉพาะบริการไปรษณีย์รับประกันบริการไปรษณีย์ตอบรับ(AR) ดังนี้
12.1 การรับประกัน
12.1.1 ห้ามประกันเกินกว่าราคาหรือมูลค่าที่แท้จริงของสิ่งของ แต่ขอประกัน ต่ำกว่าได้
12.1.2 สิ่งของที่ไม่ได้บรรจุหีบห่อหรือไม่ได้หุ้มห่อ(ส่งแบบเปลือยเปล่า)ไม่รับฝากส่งโดยใช้บริการรับประกัน

12.2 บริการไปรษณีย์ตอบรับ(AR) สำหรับ Logispost เมื่อได้นำจ่ายให้ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับและบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องลงในใบตอบรับเรียบร้อยแล้ว ปณท จะจัดส่งใบตอบรับนั้นคืนผู้ฝากส่ง ตามที่ผู้ฝากส่งเลือกใช้และชำระค่าบริการไว้ ตามวิธีปฏิบัติและอัตราค่าบริการที่ ปณท กำหนด ดังนี้
12.2.1 ทางไปรษณีย์ธรรมดา
12.2.2 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ซึ่งตรวจสอบใบตอบรับได้จากระบบ
Track and Trace
13. ผู้ใช้บริการต้องฝากส่ง Logispost ต่อเจ้าหน้าที่รับฝาก และชำระค่าบริการตามอัตราที่ ปณท กำหนดเป็นเงินสดเป็นวิธีการหลัก โดย ปณท จะมอบสำเนาใบรับฝากและใบรับเงินจากระบบเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์อัติโนมัติ (CA POS) ให้ไว้เป็นหลักฐาน
14. ผู้ใช้บริการสามารถชำระค่าบริการ Logispost ด้วยวิธีการอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดใน ข้อ 22 ได้ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
14.1 ชำระค่าบริการเป็นเงินเชื่อ เฉพาะส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้บริการ “รับชำระค่าบริการเป็นเงินเชื่อ” จาก ปณท แล้ว

14.2 ชำระค่าบริการโดยใช้รอยประทับจากเครื่องประทับไปรษณียากร(Franking Machine) ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตใหใช้เครื่องประทับไปรษณียากรจาก ปณท
กรณีชำระค่าบริการเป็นเงินเชื่อ หรือชำระโดยใช้รอยประทับจากเครื่องประทับฯผู้ใช้บริการต้องจัดทำหลักฐานใบนำส่งตามแบบที่ ปณท กำหนดสำหรับบริการนั้น ๆ
15 ผู้ใช้บริการสามารถติดตามตรวจสอบ Logispost ได้โดยผ่านทางเว็บไซต์ที่ ปณท กำหนด หรือสอบถามจากที่ทำการได้โดยตรง หรือทางโทรศัพท์ หรือวิธีการสื่อสารทางอื่น
16. Logispost ที่สูญหาย หรือเสียหายทั้งหมดหรือบางส่วนในระหว่างทางไปรษณีย์ โดยเกิดจากความพกพร่องของ ปณท ผู้ฝากส่งจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ปณท กำหนด
17. การขอสอบสวน Logispost ต้องดำเนินการภายใน 1 เดือน นับจากวันต่อจากวันที่ฝากส่ง หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ปณท จะไม่รับสอบสวน

อัตราค่าบริการ Logispost แบบพิกัดน้ำหนัก www.thailandpost.co.th

ส่วนบริการเสริม Logispost Plus เป็นบริการเสริมของบริการ Logispost เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดส่งสิ่งของขนาดใหญ่ให้ถึงปลายทางในเวลาที่รวดเร็วขึ้น และสามารถนำจ่ายให้ถึงสถานที่ของผู้รับ เหมาะสำหรับการขนส่งสัมภาระเดินทาง อุปกรณ์การท่องเที่ยว ของฝาก ซึ่งมีน้ำหนักมากหรือมีบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่

เงื่อนไข

– น้ำหนักสูงสุดได้ถึง 200 กิโลกรัม

– มาตรฐานการนำจ่ายภายใน 7 วันทำการ

ทิ้งคำตอบไว้